top of page
Supakan
MAKKASANPITTAYA SCHOOL BANGKOK
11.png
22.png
55.jpg
11.png
1/5
เทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน
เทคโนโลยีระดับกลาง
เทคโนโลยีระดับสูง
ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยี
- ระดับของเทคโนโลยี แบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ
1. เทคโนโลยีระดับพื้นบ้านหรือพื้นฐาน (Basic Technology) เป็นเทคโนโลยีในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีเพื่อการยังชีพ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมพื้นบ้าน เช่น คันไถ คราด มีด พร้า จอบ เสียม อวน แห เบ็ด เรือพาย หม้อ ไห
2. เทคโนโลยีระดับกลาง (Intermediate Technology) เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ความรู้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหามากขึ้น มีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ีมีกลไกซับซ้อนมากขึ้น เช่น การใช้เครื่องจักรทำงานแทนคน
3. เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology) เป็นเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ขั้นสูง มีการใช้ระบบฐานข้อมูลและการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรค ระบบโทรคมนาคมและสื่อสาร ระบบอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
- สาขาของเทคโนโลยี แบ่งออกได้ 12 สาขา คือ
-
เทคโนโลยีการควบคุม (Control Technology)
-
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
-
เทคโนโลยีอาหาร (Food Technology)
-
เทคโนโลยีวัสดุ (Meterials Technology)
-
เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และการผลิต (Production and Process Technology)
-
เทคโนโลยีโครงสร้าง (Structural Technology)
-
เทคโนโลยีขนส่ง (Transportation technology)
-
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Technology)
-
เทคโนโลยีสิ่งทอและเสื้อผ้า (Textile Garment technology)
-
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
-
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication technology)
-
เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural technology)
- ลักษณะของเทคโนโลยีที่ดี แบ่งออกได้ 5 ลักษณะ คือ
1. มีความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงกับความเป็นจริงและเชื่อถือได้
2. ทันต่อเวลา (timeliness) สารสนเทศที่ดีต้องทันต่อการใช้งาน หมายถึง ข้อมูลที่ป้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีความเป็นปัจจุบันทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
3. มีความสมบูรณ์ครอบถ้วน (complete) สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความครบถ้วน สารสนเทศที่มีความครบถ้วนเกิดจากการเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน หากเก็บข้อมูลเพียงบางส่วนก็จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้เต็มประสิทธิภาพ
4. มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) สารสนเทศจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผุ้ใช้ คือ การเก็บข้อมูลต้องมีการสอบถามการใช้งานของผู้ใช้ว่าต้องการในเรื่องใดบ้าง
5. สามารถพิสูจน์ได้ (verifiable) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศได้
- การด้อยพัฒนาทางเทคโนโลยี มีดังนี้
1. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งออกเป็นภาคชนบทและภาคเมือง ทั้ง 2 ภาคนี้มีความเหลี่ยมล้ำอย่างมากทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะอาศัยอยู่ในภาคชนบทและมีความยากจน ทำให้ความต้องการ(อุปสงค์) ของเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ
2. โครงสร้างระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความล้าหลัง คือ ไม่มีความเชื่อมโยงผสมผสานระหว่างองค์ประกอบต่างๆของระบบ ทำให้กิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระจัดกระจาย
3. กำลังความสามารถทางเทคโนโลยีที่อยู่ภายในประเทศมีน้อย ผู้ลงทุนและผู้บริหารประเทศจึงไม่กล้าเสี่ยใช้เทคโนโลยีท้องถิ่นในประเทศ
4. การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรทมิได้ผสมผสานกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี เป็นปัจจัยส่งเสริมให้มีการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
5. ผู้บริหารประเทศในระดับต่าง ๆ ไม่ค่อยให้ความสนใจ ในเรื่องของการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างจริงจัง เพราะเป็นการลงทุนในระยะยาว
bottom of page