top of page

ภาพฉาย

ภาพฉาย

 

- ความหมายและความสำคัญของภาพฉาย

     ภาพที่มองจากชิ้นงานจริงฉายไปปรากฏรูปทรงบนระนาบรับภาพ  โดยทั่วไปในการเขียนแบบชิ้นส่วนใด ๆ  ถ้าจะให้มองเห็นได้ชัดเจนและดูเหมือนจริงนั้นสามารถเขียนได้ด้วยภาพ 3มิติ  ซึ่งแสดงเพียงภาพเดียวก็สามารถมองได้ชัดเจนทั้งสามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ได้และนำไปทำการผลิตได้ด้วย  แต่การเขียนภาพ 3 มิติ  นั้นกระทำได้ยากต้องใช้เวลาในการเขียนแบบงานต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยหลายอย่าง  จึงไม่เหมาะสมที่จะนำวิธีการนี้มาเขียนแบบเพื่อสั่งงานผลิต  เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  ภาพ 3  มิติ  เหมาะสำหรับแสดงรูปร่างและการประกอบกันอยู่ของชิ้นงานในคราวที่จำเป็นมากกว่า

การที่จะเขียนงานให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นสามารถเขียนได้โดยวิธีการมองภาพทีละด้านและนำเอาแต่ละด้านมาเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กัน  จะทำให้การเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กันจะทำให้การเขียน ,การแสดงอัตราส่วน ,การแสดงขนาด ,การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยและสะดวกยิ่งขึ้น

 

- หลักการมองภาพฉาย ภายฉายสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ

     1. การเกิดเงา

     2. การมองเห็นวัถุ

 

- ทิศทางการมองภาพฉายทั้ง 3 ด้าน

     1. การหาภาพด้านหน้า เมื่อมีภาพด้านข้างและภาพด้านบนแล้ว ให้ใช่วิธีการลากเส้นฉายจากเส้นขอบรูปของภาพด้านข้างไปแนวนอนทางซ้าย และลากเส้นฉายจากภาพด้านบนขึ้นไป เพื่อให้มาตัดเป็นจุดขอบรูปของภาพด้านหน้า เมื่อต่อเส้นระหว่างจุดตัดก็จะได้ภาพด้านหน้า

     2. การหาภาพด้านข้าง ให้ลากเส้นฉายเอียง 45 องศากับแนวราบจากมุมล่างขวาของภาพด้านหน้า แล้วลากเส้นฉายแนวนอนจากภาพด้านหน้าไปทางขวาเพื่อให้ตัดกับเส้นฉายของขอบรูปที่ลากมาจากภาพด้านบนผ่านเส้นเอียง 45 องศา แล้วหักขึ้นสู่ภาพด้านข้างไปตัดกันจะได้เป็นจุดตัดของขอบรูปของภาพด้านข้าง เมื่อต่อเส้นระหว่างจุดตัดก็จะได้ภาพด้านข้าง

     3. การหาภาพด้านบน ให้ลากเส้นฉายแนวดิ่งจากภาพด้านหน้าลงมาตัดกับเส้นฉายที่ลากลงจากภาพด้านข้างซึ่งหักมุมผ่านเส้นเอียง 45 องศามาตัดเป็นจุดของขอบรูปของภาพด้านบน เมื่อต่อเส้นระหว่างจุดตัดก็จะได้ภาพด้านบน

 

- การบอกขนาดมิติของภาพฉาย ประกอบด้วย

     1. เส้นบอกขนาด

     2. เส้นช่วยบอกขนาด

     3. หัวลูกศร

     4. ตัวเลขบอกขนาด มีดังนี้

  •      4.1 ตัวเลขจะต้องเขียนอยู่บนเส้นบอกขนาด และห่างเล็กน้อยในตำแหน่งกึ่งกลางเส้น

  •      4.2 ตัวเลขในแนวนอนให้เขียนตัวเลขชี้ขึ้นบน

  •      4.3 ตัวเลขในแนวตั้งให้เขียนตัวเลขชี้ไปทางขวา

  •      4.4 ขนาดความสูงของตัวเลขควรเท่ากับความยาวของลูกศร

 

- ตัวอย่างการเขียนภาพฉายมุมที่ 1

     การฉายภาพระบบมุมที่ 1 E (E –Method)ชิ้นงานจะถูกสมมติให้วางลอยอยู่ในควอแดรนท์ที่ 1 เมื่อฉายเส้นต่าง ๆไปตกที่ระนาบรับภาพของทั้ง 3 ด้าน แล้วคลี่ระนาบรับภาพทั้ง 3ออกให้อยู่ในระนาบดิ่ง จะได้ภาพด้านบนอยู่ข้างล่างของภาพด้านหน้า ภาพที่มองด้านซ้ายจะอยู่ขวามือของด้านหน้า

 

- การเขียนแบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ 

     สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานสากล มีลักษณะเป็น

ลายเส้น ตัวอักษร และเครื่องหมายกำกับต่างๆ เพื่อชีหรือแสดงข้อกำหนดให้ถูกต้องแน่นอนตามต้องการ และใช้ในเป็นสื่อกลางในการเขียนแบบ และอ่านแบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นแบบวงจรไฟฟ้า แบบงานควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า หรือ แบบงานติดตั้งไฟฟ้ า ก็ตาม ผู้เขียนแบบและผู้อ่านแบบจำเป็นจะต้องมีความรู้เรื่องสัญลักษณ์ทั้งสิ้น มาตรฐานสากลของสัญลักษณ์ทางไฟฟ้ามีหลายมาตรฐาน

 

 

bottom of page